การต่อวงจรไฟฟ้า


ส่วนสำคัญของวงจรไฟฟ้าคือการต่อโหลดใช้งาน  โหลดที่นำมาต่อใช้งานในวงจรไฟฟ้าสามารถต่อได้เป็น  3  แบบด้วยกัน  ได้แก่  วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม  (Series Electrical Circuit) วงจรไฟฟ้าแบบขนาน (Parallel Electrical Circuit) และวงจรไฟฟ้าแบบผสม (Series - Parallel Electrical Circuit)
                    การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
                วงจรอนุกรมหมายถึงการนำเอาอุปกรณ์ทาง ไฟฟ้ามาต่อกันในลักษณะที่ปลายด้านหนึ่งของอุปกรณ์ตัวที่ 1 ต่อเข้ากับอุปกรณ์ตัวที่ 2 จากนั้นนำปลายที่เหลือของอุปกรณ์ตัวที่ 2 ไปต่อกับอุปกรณ์ตัวที่ 3 และจะต่อลักษณะนี้ไปเรื่อยๆซึ่งการต่อแบบนี้จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไปในทิศทาง เดียวกระแสไฟฟ้าภายในวงจรอนุกรมจะมีค่าเท่ากันทุกๆจุดค่าความต้านทานรวม ของวงจรอนุกรมนั้นคือการนำเอาค่าความต้านทานทั้งหมดนำมารวมกันส่วนแรงดัน ไฟฟ้าในวงจรอนุกรมนั้นแรงดันจะปรากฏคร่อมตัวต้านทานทุกตัวที่จะมีกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านซึ่งแรงดันไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะมีค่าไม่เท่ากันโดยสามารถคำนวณหาได้จาก กฎของโอห์ม
รูปแสดงวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม 
               ลักษณะคุณสมบัติของการต่อวงจรแบบอนุกรม
1. ในวงจรหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของวงจรอนุกรมจะมีกระแสไหลผ่านในทิศทางเดียวเท่านั้น
2. แรงดันตกคร่อมที่ความต้านทานแต่ละตัวในวงจรเมื่อนำมาร่วมกันจะมีค่าเท่ากับแรงดันที่จ่ายให้กับ
วงจร
3. ค่าความต้านทานย่อยแต่ละตัวในวงจรเมื่อนำมารวมกันก็จะมีค่าเท่ากับค่าความต้านทานรวมกันทั้งหมด
ในวงจร
4. กำลังและพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่ความต้านทานย่อยแต่ละตัวในวงจรเมื่อนำมารวมกันก็จะมีค่าเท่า
กำลังและพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในวงจร
                 การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน
            วงจรที่เกิดจากการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปให้ขนานกับแหล่งจ่ายไฟมีผลทำให้ค่าของแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อม อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวมีค่าเท่ากันส่วนทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าจะมีตั้งแต่ 2 ทิศทางขึ้นไปตามลักษณะของสาขาของวงจรส่วนค่าความต้านทานรวมภายในวงจรขนานจะ มีค่าเท่ากับผลรวมของส่วนกลับของค่าความต้านทานทุกตัวรวมกันซึ่งค่าความต้าน ทานรวมภายในวงจรไฟฟ้าแบบขนานจะมีค่าน้อยกว่าค่าความต้านทานภายในสาขาที่มี ค่าน้อยที่สุดเสมอและค่าแรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานไฟฟ้าแต่ละตัวจะมีค่า เท่ากับแรงเคลื่อนของแหล่งจ่าย
รูปแสดงวงจรไฟฟ้าแบบขนาน
ลักษณะคุณสมบัติของการต่อวงจรแบบขนาน
1. แรงดันที่ตกคร่อมที่อิลิเมนท์หรือที่ความต้านทานทุกตัวของวงจรจะมีค่าเท่ากันเพราะว่าเป็นแรงดันตัว
เดียวกันในจุดเดียวกัน
2. กระแสที่ไหลในแต่ละสาขาย่อยของวงจรเมื่อนำมารวมกันจะมีค่าเท่ากับกระแสที่ไหลผ่านวงจรทั้งหมด
หรือกระแสรวมของวงจร
3. ค่าความนำไฟฟ้าในแต่ละสาขาย่อยของวงจรเมื่อนำมารวมกันจะมีค่าเท่ากับค่าความนำไฟฟ้าทั้งหมด
ของวงจร
4. กำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่อิลิเมนท์หรือค่าความต้านทานในแต่ละสาขาในวงจรเมื่อนำมาร่วมกันก็จะมี
ค่าเท่ากับกำลังและพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของวงจร
                  การต่อวงจรไฟฟ้าแบบผสม
            เป็นการต่อวงจรไฟฟ้าโดยการต่อรวมกัน ระหว่างวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมกับวงจรไฟฟ้าแบบขนาน  ภายในวงจรโหลดบางตัวต่อวงจรแบบอนุกรม  และโหลดบางตัวต่อวงจรแบบขนาน  การต่อวงจรไม่มีมาตรฐานตายตัว เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรตามต้องการ  การวิเคราะห์แก้ปัญหาของวงจรผสมต้องอาศัยหลักการทำงานตลอดจนอาศัยคุณสมบัติ ของวงจรไฟฟ้าทั้งแบบอนุกรมและแบบขนาน  ลักษณะการต่อวงจรไฟฟ้าแบบผสม
       
       
รูปแสดงวงจรไฟฟ้าแบบผสม
       
                ลักษณะคุณสมบัติของการต่อวงจรแบบผสม
                เป็นการนำเอาคุณสมบัติ ของวงจรอนุกรม  และคุณสมบัติของวงจรขนานมารวมกัน  ซึ่งหมายความว่า  ถ้าตำแหน่งที่มีการต่อแบบอนุกรมก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่ออนุกรมมาพิจารณา ตำแหน่งใดที่มีการต่อแบบขนานก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่อแบบขนานมาพิจารณาไป ทีละขั้นตอน
รูปแสดงการต่อใช้งานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ 
รูปแสดงการต่อหลอดแบบมีไส้